วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553


วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ

1.กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
2.กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ

ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่

•สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ

•สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

•สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ



76 ปี ประชาธิปไตยไทย

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้

เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า

"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"

"ฯลฯ.......เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"

คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า


1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

2.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)

5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น

6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า "ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"

วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า

"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"

76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงามความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะ

ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะ

วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา

ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ

1.กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
2.กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ

ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่

•สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ

•สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

•สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ



76 ปี ประชาธิปไตยไทย

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้

เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า

"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"

"ฯลฯ.......เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"

คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า


1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

2.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)

5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น

6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า "ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"

วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า

"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"

76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงามความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะ

ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะ

วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)







กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ด้วยทรงเห็นว่าผู้ก่อการมิได้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์

คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

1.ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
2.ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
3.ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
4.ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
5.ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
6.ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
7.ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

[แก้ไข] ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจาก
เมื่อตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 พ.ศ. 2452 ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างทหารราบที่ 1 กับพวกมหาดเล็กบางคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการที่ได้มีเหตุวิวาทนั้น ได้ความว่า เพราะเรื่องหญิงขายหมากคนหนึ่ง การทะเลาะวิวาทกันอย่างฉกรรจ์นี้ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงทราบ ก็ได้รับสั่งให้ผู้บังคับบัญชาการทหารราบที่ 2 ทำการสอบสวน และภายหลังการสอบสวนได้ความว่า หัวหน้าคือ ร.อ. โสม ซึ่งให้การรับสารภาพ ดังนั้น ร.อ.โสม กับพวกอีก 5 คน จึงถูกคุมขัง เพื่อรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาต่อไป

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมชนกนาถ ขอให้ลงพระอาญาเฆี่ยนหลังทหารเหล่านั้นตามจารีตประเพณีนครบาล ในการกระทำอุกอาจถึงหน้าประตูวังของรัชทายาท แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย เสด็จในกรมราชบุรี นักกฏหมายได้ชี้แจงว่า ควรจะจัดการไปตามกฏหมาย เพราะได้ใช้ประมวลกฏหมายอาญาเยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำเอาจารีตนครบาล ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้อีก แต่คำคัดค้านทั้งหลายไม่เป็นผล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชยังทรงยืนกรานจะให้โบยหลังให้ได้ มิฉะนั้นจะทรงลาออกจากตำแหน่งองค์รัชทายาททันที สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเห็นการณ์ไกลว่า ถ้าไม่ตามพระทัย เรื่องอาจจะลุกลามกันไปใหญ่โต จึงทรงอนุมัติไปตามคำขอ

จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทหารทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนนายร้อยทหารบก พากันไม่ยอมเข้าเรียน แต่ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกขณะนั้น คือสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ได้ทรงอธิบายปลอบโยน ด้วยข้อความอันซาบซึ้งตรึงใจ นักเรียนนายร้อยเหล่านั้นจึงได้ยอมเข้าเรียนตามปกติ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ผ่านไป

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งกองเสือป่าขึ้น และเอาพระทัยใส่ในกิจการนี้เป็นอย่างดี นายทหารรุ่นที่สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยรุ่นปลาย ร.ศ.128 เรียกรุ่นนั้นว่า "ร.ศ.129" ก็ได้เข้าประจำการตามกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร บางคนยังไม่ลืมเหตุการณ์เฆี่ยนหลังนายทหารตั้งแต่คราวนั้น และยังสะเทือนใจอยู่ และประกอบกับมีความรู้สึกว่า "กองเสือป่า" ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนั้น ก็มิใช่ลูกเลือ เป็นกิจกรรมที่ตั้งซ้ำกับการทหาร และยังทำงานชิงดีชิงเด่นกับทหารแห่งชาติเสียด้วย ย่อมทำให้ความมั่นคงของชาติเสื่อมสลายลงเป็นอย่างมาก

เสือป่าในกองนั้น ส่วนมากก็คือราชการในพระราชสำนัก เป็นกองที่ทรงสนพระทัยอย่างใกล้ชิด จนคนภายนอกที่ไม่ได้เข้า หรือเข้าไม่ได้ ต่างพากันคิดผิดไป จนเกิดความริษยา ในขั้นแรกที่ว่าการเสือป่าในกรุงเทพฯ ก็โปรดปรานให้มีสโมสรเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จที่สโมสรเสือป่าเกือบทุกวัน เพื่อทอดพระเนตรการฝึก สำหรับสโมสรเสือป่านั้น เสื่อป่าทุกชั้น จนถึงพลเสือป่าถึงเข้าเป็นสมาชิกได้ ข้าราชการและคนอื่นๆ จึงนิยมสมัครเข้าเป็นเสือป่า แต่ผู้ที่เป็นทหารประจำการอยู่แล้ว เข้าไปในสโมสรเสือป่าไม่ได้ ก็เกิดมีความเสียใจว่า ทหารถูกกีดกันไม่ให้เข้าใกล้พระเจ้าอยู่หัว จึงอยากจะเป็นสมาชิกสโมสรเสือป่าบ้าง เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ และเพราะน้ำพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณา จึงโปรดให้ทหารเข้าเป็นสมาชิกสโมสรนั้นได้ โดยต้องสมัครเป็นเสือป่าด้วย เพราะการเป็นนายทหารสัญญาบัตร มิได้หมายความว่าเป็นนายเสือป่าสัญญาบัตรด้วย จึงเกิดเป็นภาพที่ออกจะแปลก เมื่อนายทหารสัญญาบัตร ถึงชั้นอาวุโสในกองทัพบก ทัพเรือ ในตอนเย็นกลับกลายเป็นพลเสือป่าไปฝึกอยู่ที่หน้าสโมสร พระราชวงศ์ถวายการสนับสนุนเรื่องกองเสือป่าเป็นอย่างดี และมักจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมเสื่อป่ารักษาดินแดนมณฑล เช่นทูลกระหม่อมจักรพงษ์ ทรงเป็นนายกกองเอกพิเศษ ของกองรักษาดินแดนมณฑลพิษณุโลก ทูลกระหม่อมบริพัตร เป็นของมณฑลนครสวรรค์ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นในตอนต้นๆ ก็ไม่ทำให้ทหารเลิกรังเกียจเสือป่าได้

แต่ความไม่พอใจของทหารหนุ่มหมู่หนึ่งนั้นยิ่งทวีขึ้น เพราะมองเห็นว่า กิจการของกองเสือป่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ประเทศชาติบ้านเมือง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้การเศรษฐกิจการคลังของประเทศอยู่ในฐานะฝืดเคือง และเป็นการทรมานข้าราชการผู้เฒ่าชราอย่างน่าสงสาร ทั้งยังทำให้กิจการงานเมืองฝ่ายทหาร และพลเรือนต้องอลเวงสับสน ไม่เป็นอันประกอบกิจการงาน เป็นการเสียทรัพย์ เสียเวลา เสียงานของชาติ และบุคคลบางจำพวกที่อยู่ในราชสำนักขณะนั้น ไม่ทราบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ของเจ้านายของตนเพียงพอ ปฎิบัติประพฤติตนไปในทำนองผยองตน ต่อข้าราชการและพลเมืองของชาติ ที่ยังจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ของเขาอย่างแนบแน่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ก็ลงบทความตำหนิ จนผู้ที่มีใจเป็นธรรมต้องเข้าร่วมเป็นพรรคพวกกับทหารหนุ่มๆ เหล่านั้นด้วย แม้แต่กระทั้ง เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระองค์ ก็ได้ทรงแสดงพระอาการไม่เป็นที่พอพระทัยมาก จนออกหน้าออกตาความไม่พอใจได้เพิ่มทวียิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2454 หรือ ร.ศ. 130 พวกคิดก่อการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ได้เพิ่มพูนความไม่พอใจขึ้นอีก ด้วยเรื่องของความอิจฉาริษยาเสือป่า ซึ่งถือว่าเป็นหมู่ชนที่ได้รับการโปรดปรานยิ่งกว่าหมู่อื่น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตระเตรียมการปฎิวัติขึ้น และแผนการณ์ปฎิวัตินั้นอยู่ในขั้นรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับจะลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยทีเดียว สมุหฐานที่สำคัญ ในการปฎิวัติครั้งนี้ ที่พอสรุปได้มีดังนี้ คือ

1) เนื่องจากพวกจักรวรรดินิยม กดขี่ข่มเหงประเทศต่างๆ ในเอเซีย และได้แลเห็นประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านั้น มีความเจริญในด้านต่างๆ จนสามารถปราบปรามประเทศต่างๆในเอเซีย และเรียนรู้การปกครองของประเทศจักรวรรดินิยมเขาทำกันอย่างไร จึงมีความปรารถนาจะให้ประเทศของตนเป็นไปอย่างยุโรปบ้าง

2) พวกคณะปฎิวัติได้เห็นประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้า ภายหลังที่ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย จนสามรถรบชนะจีนและรัสเซีย จึงต้องการให้ประเทศสยามมีความก้าวหน้าอย่างนั้นบ้าง

3) เมื่อเห็น ดร.ซุนยัดเซน โค่นบัลลังก์แมนจู เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ต้องการให้ประเทศสยามเป็นเช่นนั้นบ้าง

4) คณะปฎิวัติเล็งเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่อนแอเหมือนพระเจ้าหลุยส์ที่14 ไม่สนพระทัยในกิจการบ้านเมือง จึงคิดจะปฎิวัติ เพื่อปรับปรุงประเทศอย่างตะวันตก

5) ทหารถูกเหยียดหยาม

6) ความเป็นไปในราชสำนักฟุ่มเฟือย ไร้สารัตถะ

7) ความสิ้นเปลืองเงินแผ่นดินไปโดยไร้ประโยชน์ และมีเหตุอันไม่บังควร

8) มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างผู้ที่เรียกตนเองว่าเจ้า กับไพร่

9) ขุนนางผู้ใหญ่ มีความเสื่อมทรามเหลวแหลก

10) ข้าราชการทำงานเอาตัวรอดไปวันๆ โดยไม่คิดถึงประเทศชาติและบ้านเมือง

11) ราษฎรไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างจริงจัง

12) ชาวไร่ ชาวนา ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือให้ดีขึ้นตามสมควร

13) ทุพภิกขภัย ความอดอยากหิวโหย แผ่ซ่านไปในหมู่กสิกร เมื่อดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก

14) ทั้งที่เกิดความอดอยากยากจนอยู่ทั่วประเทศ แต่ทางราชการกลับเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนอย่างสาหัส

15) ผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ประชาชนพลเมือง

16) กดการศึกษาของพลเมือง เพื่อมิให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เทียบเท่าชนชั้นผู้ปกครอง

17) ความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองขาดการทำนุบำรุง


คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130
บุคคลคณะนี้ เป็นนายทหารที่รักความก้าวหน้า และปรารถนาที่จะให้ประเทศชาติมีการปกครองเช่นเดียวกับจีนและญี่ปุ่น และต้องการให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่เป็นหัวหน้าคิดการใหญ่ครั้งนี้คือ ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์ ) นายแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก และยังเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ เสด็จในกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นหัวหน้าดำเนินการและริเริ่ม พร้อมด้วย ร.ต. จรูญ ษตะเมษ ซึ่งเป็นนายทหารสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อย ประจำการอยู่ที่กรมทหารราบที่ 12 มณฑลนครไชยศรี

นายทหารทั้งสองนี่ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะให้ประเทศมีการปกครองตนเอง เปลี่ยนแปลงระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จะนำเอาแบบอย่างนานาอารยะประเทศมาใช้ จะปรับปรุงการศึกษา และการทหารเสียใหม่ จะให้สิทธิและเสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพ ให้มีรัฐธรรมนูญ ให้มีรัฐสภา ให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้ง ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย ที่กระทำกันอยู่ในยุโรปขณะนั้น

เมื่อเกิดปณิธานและความมุ่งหมาย ในการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นนี้ ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติก็วางแผนชักจูงทหารทั่วประเทศ และเกลี้ยงกล่อมทหารเกณฑ์ที่เข้ารับราชการทุกรุ่น ให้มีความเข้าใจถึงความเป็นอยู่ของประเทศชาติ และความเสื่อมทรามในขณะนั้น และความเป็นไปของลัทธิประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไร รวมถึงอธิบายให้เขาเหล่านั้นเข้าใจถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น ได้แพร่ข่าวกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรตระหนักว่า ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็นลัทธิที่ไม่เหมาะสมแก่การปกครองประเทศ จนจะไม่มีเหลืออยู่แล้วในโลกนี้

ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติ ได้ใช้ดุลยพินิจอย่างหนักหน่วง ที่จะพยายามเลือกเฟ้นหาบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะที่จะเป็นผู้นำ และบุคคลที่จะเป็นผู้นำนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง มีความคิดเห็นเป็นประชาธิปไตย และเด็ดขาด มีอุดมการณ์แน่วแน่ มีมโนธรรมสูง มีจิตใจเป็นมนุษยธรรม เห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และควรได้รับความเคารพจากทหารทุกชั้น ต่างก็ลงความเห็นร่วมกันว่า ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นทั้งนายแพทย์และนักรบ จากนักเรียนนายร้อยสำรอง ซึ่งเคยผ่านงานมาแล้วเป็นอย่างดี ทั้งกำลังจะเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ฯ และหม่อมแคทรีน พระชายา ตลอดจนครอบครัวในพระองค์ท่านด้วย

ในการที่มีผู้เสนอ ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัตินั้น นับว่าเป็นความคิดเห็นที่ถูกต้อง เพราะร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ก็มีความเห็นเป็นทำนองเดียวกันว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรจะเปลี่ยนการปกครองเสียใหม่ เพื่อก้าวให้ทันเทียบกับนานาประเทศ และเพื่อนบ้าน และอีกทั้งในพระราชสำนักนั้น ก็เต็มไปด้วยความฟุ้งเฟ้ออันไร้สาระ ประเทศอยู่ในภาวะฝืดเคือง ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นไปในทำนองนั้นต่อไปอีก ไม่ทราบว่า บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรในอนาคต

นอกจากจะมีทรรศนะไปในทางเดียวกันแล้ว ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ยังเป็นบุคคลเด็ดขาด เข้มแข็ง สุภาพอ่อนโยน และเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ โอบอ้อมอารี อันเป็นนิสัยของแพทย์ทั่วไป และเพื่อเป็นการจูงใจให้นายทหารและนักเรียนนายร้อยทหารบกเข้ามาร่วมกำลังได้โดยง่าย จึงเห็นเป็นการสมควรยกย่องให้ ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัติ และท่านก็ยอมรับเป็นหัวหน้าโดยทันทีทันใด เพราะท่านก็มีความปรารถนา ในทำนองนั้นอยู่แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2454 (ร.ศ. 130) ที่ศาลาพักร้อนภายในบริเวณบ้าน ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ถนนสาธร ได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการปฎิวัติกันเป็นครั้งแรก และเรียกคณะของตนว่า "คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130" ในการริเริ่มครั้งนี้มีเพียง 7 คนเท่านั้น คือ

1.ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์
2.ร้อยตรี เหรียญ ศรีจันทร์
3.ร้อยตรี จรูญ ษตะเมษ
ร้อยตรี เนตร พูนวิวัฒน์
4.ร้อนตรี ปลั่ง บูรณโชติ
5.ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนีกร
6.ร้อยตรี เขียน อุทัยกุล
การประชุมวางแผนโค่นล้มราชบัลลังก์ ครั้งแรกนี้พอสรุปได้ผลว่า จะต้องเปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีสมาชิกบางคนที่หัวรุนแรงเห็นว่า ควรให้เป็นมหาชนรัฐอย่างจีนและสหรัฐฯ บางคนก็ไม่ต้องการให้รุนแรงขนาดนั้น เอาแต่เพียงว่า ขอให้องค์พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นก็เพียงพอ และได้มีการถกถึงปัญหานี้อย่างกว้างขวาง จนหาข้อสรุปมิได้ จนในที่สุดก็ได้ตกลงกันว่า ขอให้ทุกคนช่วยกันแสวงหาพรรคพวกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไปพลางก่อน และในตอนท้ายได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า ให้รักษาความลับเรื่องนี้ไว้อย่างสุดชีวิต

การประชุมครั้งที่สอง ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ณ ที่เดิม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2454 คราวนี้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน โดยมีสมาชิกใหม่ 13 คน คือ

1พันตรี นายแพทย์ หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตะเวช)
2.ร้อยโท จรูญ ณ บางช้าง
3.ร้อยโท เจือ ควกุล นายทหารเสนาธิการทหารบกที่1
4.ร้อยโท ทองดำ คล้ายโอภาส นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก
5.ร้อยตรี บ๋วย บุณยรัตพันธ์
6.ร้อยตรี ทวน เธียรพิทักษ์
7.ร้อยตรี สอน วงค์โต
8.ร้อยตรี สนิท
9.นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา
10.ร้อยตรี โกย วรรณกุล
11.ร้อยตรี ปาน สุนทรจันทร์ (พระวิเศษโยธาบาล)
12.ร้อยตรี ช้อย
13.พ.ต. หลวงชัยพิทักษ์ นายทหารช่างที่1
การประชุมครั้งที่สองนี้ มีร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ เป็นประธาน โดยพันตรี นายแพทย์ หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ ได้เสนอญัตติเป็นเรื่องพิเศษในที่ประชุมว่า การคิดปฎิวัติครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องความเป็นความตาย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงขอให้สมาชิกได้แสดงความสัตย์ต่อกัน ว่าจะไม่คิดทรยศหักหลังกันเอง ขอให้สมาชิกทุกคนให้สัตยาบันว่า จะซื่อสัตย์ต่อกันทุกเมื่อ ทุกโอกาส ทุกนาที โดยยอมพลีชีวิตเพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมือง มิหวังผลอันมิชอบเพื่อการส่วนตัวด้วยประการทั้งปวง

ครั้นแล้วพิธีสาบานปฎิญาณตนว่า จะซื่อตรงต่อกันจนวันสุดท้ายก็เริ่มขึ้น โดยสมาชิกคณะปฎิวัติได้ให้สัตย์ปฎิญาณพร้อมกันว่า.....

" เราทั้งหลายเป็นผู้ก่อการด้วยกัน ต่างก็ได้คำนึงกันอยู่แล้วว่า ผลสำเร็จที่สุดนั้น ย่อมเป็นการยากมาก เพราะได้เห็นผลของการปฎิวัติมามากต่อมากนักแล้ว ซึ่งส่วนมากหากเป็นประเทศอื่นก็ดี เมื่อปรากฎว่ามีการปฎิวัติขึ้น คณะผู้ก่อการครั้งแรกนั้นมักจะถูกจับกุม หรือไม่ก็ได้รับการทรมาน และถูกประหารชีวิตเสียก่อนงานจะสำเร็จ โดยมากมักจะเป็นอยู่เช่นนี้ แต่จะอย่างไรก็ดี แม้ว่าพวกปฎิวัติยุคแรกจะเพลี่ยงพล้ำ หรือได้รับโทษอย่างแสนสาหัสก็ตาม แต่ก็ยังมีพวกคนรุ่นหลังคิดการสืบต่อเนื่องกันไป และผลก็มักจะสำเร็จ"

การเสียสละครั้งนี้ เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ผลของการประชุมพอสรุปได้ดังนี้

1 จะต้องรีบลงมือทำการปฎิวัติโดยเร็วที่สุด

2 ระบอบการปกครองยังไม่เป็นที่ตกลงให้เลื่อนไปพิจารณาในกาประชุมครั้งต่อไป

3 ให้สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เกลี้ยกล่อม และหาสมาชิกใหม่ตามแนวเดิม ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด

4 แบ่งหน้าที่กันไปตามความถนัด และความสามารถ เช่นหมอเหล็งทำหน้าที่ประสานงานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หมออัทย์ รับหน้าที่ฝ่ายการต่างประเทศ ร้อยโทจรูญ กับนายอุทัย ทางด้านกฎหมาย ร้อยโทเจือ ร้อยโททองดำ ด้านเสนาธิการ และเตรียมแผน ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รับหน้าที่ออกแบบเครื่องหมายต่างๆของคณะ และอาณัติสัญญาณ นายทหารนอกนั้นให้เป็นฝ่ายคุมกำลัง เมื่อลงมือปฎิวัติ

5 ให้ทุกคนช่วยด้านกำลังเงินคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการนี้ การเงินมอบให้นายทะเบียน แล้วนายทะเบียนมอบให้หัวหน้าคณะ นายอุทัยได้มอบเงินให้หัวหน้าโดยตรงเป็นเงิน 1000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ต่อมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั้น คณะปฎิวัติก็ได้ประชุมกันอีก ณ สถานที่เดิม เมื่อวันที่ 27 มกราคม มีสมาชิกมาประชุมกัน 31 คน สมาชิกใหม่ 11 คน คือ

1) ร้อยตรี วาส วาสนา
2) ร้อยตรี ถัด รัตนพันธ์
3) ร้อยตรี เหรียญ ทิพยรัตน์ทั้งสามคนนี้ ประจำกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์
4) ร้อยตรี สง่า เรขะรุจิ
5) ร้อยตรี จาบ
6) ร้อยตรี ปรีดา
7) ว่าที่ร้อยตรี ศิริ ชุณห์ประไพทั้งสี่คนนี้ประจำกรมทหาราบที่ 11 รักษาพระองค์
8) ร้อยตรี อ๊อด จุลานนท์
9) พ.อ. พระอร่ามรณชิต
10) ร้อยตรี หรี่ บุญสำราญ
11) ร้อยตรี สุดใจ
การประชุมครั้งนี้ ฝ่ายวางแผนได้กำหนดโครงการไว้ว่า จะลงมือทำการปฎิวัติในวันถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันต้นเดือนเมษายน ตรงกับศกใหม่ ร.ศ. 130 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสมัยนั้น บรรดาข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องมีหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณสาบานตนต่อพระแก้วมรกต เฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ พระประมุขของชาติ ในท่ามกลางพระบรมวงศ์จักรี มุขอำมาตย์ ราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ และสมณะชีพราหมณาจารย์ ด้วยวิธีดื่มน้ำที่แช่ด้วยคมหอกคมดาบ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระประมุขของชาติ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งกายวาจาใจ โดยทั่วกันทุกคน และในโอกาสนี้คณะปฎิวัติจะใช้ปืนใหญ่ยิงขึ้นท้องสนามหลวงเป็นอาณัติสัญญาณ โดยกรมปืนใหญ่ที่1 รักษาพระองค์ และที่บางซื่อโดยกรมปืนใหญ่ที่ 2 เป็นสัญญาณให้หน่วยกำลังกล้าตายของคณะปฎิวัติ ได้รีบกระทำการทันที ให้เอาสนามหลวงเป็นแหล่งชุมนุมพลแหล่งใหญ่ ทางด้านกฎหมาย ก็ได้ทำการค้นคว้าหาหลักการแห่งรัฐธรรมนูญนานาชาติ เพื่อร่างกฎหมายเตรียมการไว้อย่างพร้อมสรรพ

มีการประชุมกันอีกหลายครั้ง และในครั้งที่4 นั้นก็มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายคน เช่น ร้อยตรี ลี้ ร้อยตรี ละม้าย ร้อยตรี สะอาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา ร้อยตรี บรรจบ ว่าที่ร้อยตรีชอุ่ม นาย เซี๊ยง สุวงค์ (พระยารามบัณฑิตสิทธิเศรณี) ร้อยตรี แช่ม ปานสีดำ

การประชุมได้ดำเนินไปอีกหลายครั้ง และมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นายทหารหน่วยกำลังเป็นพรรคพวกคณะปฎิวัติเกือบทั้งสิ้น และนอกจากเผยแพร่หาสมัครพรรคพวกในพระนครแล้ว ยังขยายกว้างออกไปยังต่างจังหวัดอีกด้วย

ในที่สุดคณะปฎิวัติก็มีสมัครพรรคพวกเพิ่มมากขึ้นทุกที ทหารที่จะมาอยู่ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันนั้น ทุกเหล่าพร้อมอาวุธ มาตั้งแถวเป็นเกียรติยศรับเสด็จพระราชดำเนินที่สนามหญ้าหลังวัดพระแก้ว ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารราบที่11 รักษาพระองค์ที่ถือปืนติดดาบปลายปืน ยืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ ซึ่งที่จะอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวมากที่สุด คือทหารของคณะปฎิวัติทั้งสิ้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายวางแผนได้ดำเนินการไปอย่างรัดกุมที่สุด

และตามแผนของคณะปฎิวัตินั้น ทหารจะไม่ต่อสู้กันเลย แม้นายทหารจะออกคำสั่ง ทหารทั้งหลายจะตกอยู่ในการบังคับบัญชาของคณะปฎิวัติอย่างสิ้นเชิง และเพื่อความไม่ประมาท คณะปฎิวัติจึงต้องมีหน่วยกล้าตาย ออกทำการควบคุมตามจุดสำคัญๆ ไว้ด้วยทั้งสิ้น

ในการปฎิวัติครั้งนี้ จุดมุ่งหมายอันใหญ่ยิ่งของคณะปฏิวัติ ก็คือ ไม่ต้องการให้มีการนองเลือดอย่างปฎิวัติในฝรั่งเศส และอังกฤษ ในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่14 หรือการปฎิวัติโค่นล้มราชวงศ์แมนจู และการปฎิวัติในรัสเซีย เว้นแต่ว่าหลีกเลี่ยงมิได้

จุดมุ่งหมายแรกคือการทูลเกล้าถวายหนังสือแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ให้ได้ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีพระบรมราชวินิฉัยให้เป็นไปตามหนังสือของคณะปฎิวัติ คือลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ อันจะนำพาประเทศก้าวสู่ความก้าวหน้าเยี่ยงอารยะประเทศ แต่หากมิได้เป็นไปตามความมุ่งหมายนี้ คณะปฎิวัติก็จำเป็นจะต้องใช้กำลังรุนแรงก็อาจเป็นได้

เนื่องจากการปฎิวัติครั้งนี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทหารในต่างจังหวัดด้วย เพราะทหารเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคอันใหญ่ยิ่งในการปฎิวัติครั้งนี้ ด้วยเหตุนี้เอง คณะปฎิวัติจึงได้ส่งคนไปเกลี้ยกล่อมทหารตามจังหวัดต่างๆ ไว้เป็นพวก โดยคณะปฎิวัติได้ตกลงกันว่า มณฑลอยุธยา มีหน่วยทหารกองพลที่ 3 ประจำอยู่ และอยู่ใกล้พระนคร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาไว้เป็นสมัครพรรคพวก จึงได้ให้ร้อยตรี ม.ร.ว.แช่ รัชนีกร ไปเกลี้ยกล่อม ส่วนในมณฑลอื่น เช่น มณฑลนครไชยศรี เป็นหน้าที่ของ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ กับ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ มณฑลราชบุรี เพชรบุรี ให้ ร.ต. บุญ แตงวิเชียร และ ร.ต.โกย ไปเกลี้ยกล่อม สำหรับมณฑลนครสวรรค์ มอบหมายให้ ร.ต.จันทร์ ปานสีแดง

การไปเกลี้ยกล่อมทหารต่างจังหวัดนั้นได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนมากทหารหนุ่มยินดีให้ความร่วมมือด้วย แต่พวกนายทหารชั้นผู้ใหญ่นั้นไม่เอาด้วย

ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์ สมาชิกคณะปฎิวัติคนหนึ่งได้เสนอที่ประชุมว่า ได้ชักชวนสมาชิกใหม่คนหนึ่งไว้นานแล้ว ขณะนี้กำลังจะเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา ทหารปืนใหญ่ที่ 7 ที่พิษณุโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไว้ใจได้ บุคคลผู้นั้นคือ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่) แต่ ร.ต. เนตร ซึ่งเป็นเลขาธิการนุการคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เคยเป็นศิษย์วัดเบญจมบพิตรมาด้วยกัน รู้นิสัยใจคอคนผู้นี้ดีว่าเป็นคนที่ไม่น่าไว้วางใจ นิสัยโลเล พูดจาไม่แน่นอน ไม่จริงใจ เป็นคนน่ากลัว ชอบให้ร้ายป้ายสี ถ้าเอามาเป็นพวกก็เกรงว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ อาจจะเป็นภัยแก่การปฎิวัติครั้งนี้ก็ได้

คำคัดค้านของ ร.ต. เนตร ทำให้สมาชิกชักจะเริ่มลังเล เพราะบุคคลิกของ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ตามที่ ร.ต. เนตร ได้อ้างมานั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มิใช่นักปฎิวัต

อาจจะเป็นคราวเคราะห์ของคณะผู้ก่อการปฎิวัติ ร.ศ. 130 เพราะที่ประชุมไม่สามารถระงับไว้ได้ โดย ร.ต.ทวน ได้นำ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้ามาในที่ประชุม ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในบ่ายของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2454 ขณะนั้นการประชุมได้ดำเนินไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงไม่สามารถระงับได้ทัน เพราะในระหว่างที่อยู่นั้น ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็โผล่เข้ามา ร.ต. ทวน รีบออกไปต้อนรับอย่างเพื่อนสนิท สมาชิกทั้งหลายต่างพลอยแสดงความยินดีไปด้วย เพราะล้วนแต่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วทั้งสิ้นและทันที่ที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก้าวเข้าไปในที่ประชุม ก็ได้เกิดปรากฎการณ์แปลกประหลาด คือ แก้วนำยาอุทัยที่ตั้งอยู่กับพื้นเกิดแตกโพล๊ะเป็นสองท่อนขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ทุกคนถึงกับตกตะลึง และพากันเข้าใจว่า น่าจะเป็นลางร้าย แต่ ร.ท. เจือ ได้พยายามพูดจากลบเกลื่อนไปในทางที่ดีและเป็นสิริมงคลเสีย ทั้งหมดจึงได้คลายวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประชุมกันต่อไป และมีพิธีสาบาน โดยเอาลูกกระสุนปืนแช่ในเหยือกน้ำ พร้อมกับคำสาปแช่งอย่างร้ายแรงว่า " ทุกคนจะต้องสุจริตต่อกัน ผู้ใดคิดการทรยศต่อคณะนี้จงพินาศ" จากนั้นก็รินน้ำสาบานให้ทุกคนดื่ม

หมอเหล็ง ศรีจันทร์ ประธานในที่ประชุม ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการปฎิวัติครั้งนี้ และแผนการณ์ต่างให้สมาชิกใหม่ทราบ โดย ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มีความขัดข้องใจเรื่องราชวงศ์จักรี เกรงว่าจะกระทบกระเทือน ทำให้ประชาชนไม่พอใจ หมอเหล็ง ก็ได้อธิบายว่า

" .....เป็นความจำเป็น เพราะทั่วโลกเขาก็ทำกันอย่างนี้ เพราะบ้านเมืองเต็มไปด้วยความยากจน ในราชสำนักนั้นก็ฟุ้งเฟ้อ ไม่ผิดอะไรกับราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 การกระทบกระเทือนย่อมต้องมีบ้าง เพียงแต่พระมหากษัตริย์ลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น สำหรับประชาชนนั้นจะได้แถลงนโยบายให้ทราบโดยทั่วกัน และพวกเขาทุกคนน่าจะพอใจที่จะได้ปกครองตนเอง ตามระบบประชาธิปไตย ซึ่งคงไม่มีปฎิกิริยาจากประชาชนเป็นแน่ ..."

ด้วยบุญญาธิการ อภินิหาร หรืออาจจะยังไม่ถึงคราวที่ราชวงศ์จักรีจะสิ้นอำนาจ ก็ตาม ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ที่ ร.ต. เนตร วิจารณ์ว่าเป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจนั้น อาจจะไม่เห็นด้วยกับคณะปฎิวัติ หรือยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรืออาจจะเกรงกลัวอาญาแผ่นดิน หรือจะด้วยอะไรก็ตามแต่เถิด..... เพราะในที่สุด ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็จับเบอร์ได้เป็นผู้ที่จะลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับจารพระราชวังสนามจันทร์ โดยทางรถไฟพระที่นั่ง ที่สถานีบางกอกน้อย อันเป็นแผนการณ์ของคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และแผนต่อไปคือ การจับกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ไว้เป็นหลักประกัน โดยแผนการณ์ครั้งนี้เป็นแผนการณ์ที่ค่อนข้างจะร้ายแรงมาก เป็นการเสี่ยงมากทีเดียว

อาจเป็นเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่เห็นด้วยกับแผนการณ์ในครั้งนี้ หรือเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่มีหัวที่จะเป็นนักปฎิวัติ และยิ่งตนเองจะต้องเป็นผู้ลงมือด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ หนักใจยิ่งนัก และเมื่อหาทางออกอื่นไม่ได้แล้ว จึงได้ตัดสินใจนำความลับนี้ไปปรึกษา ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) มหาดเล็กคนโปรดของพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ

เมื่อ ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) ได้ทราบเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ก็พา ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้าเฝ้าหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่1 รักษาพระองค์ที่บางซื่อ โดยหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ได้นำความกราบทูลเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ในตอนเย็นวันนั้นเอง

สมเด็จเจ้าฟ้าฯทรงทราบเรื่องก็รู้สึกวิตกพระทัยยิ่งนัก เพราะพระองค์ไม่ทรงได้คาดฝันมาก่อน เพราะบุคคลในคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 นั้นเป็นลูกศิษย์ เป็นมหาดเล็กผู้ใกล้ชิด และตัวหมอเหล็งเองก็เป็นถึงแพทย์ประจำพระองค์ ซึ่งทรงโปรดปรานให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯจึงได้รีบรุดไปเข้าเฝ้ากราบบังคับทูล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยขบวนรถไฟพิเศษ

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ เสด็จไปถึงก็รีบเข้าเฝ้าทูลเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพบเพียงลำพังสองต่อสอง เพื่อกราบทูลพฤติการณ์สังหารโหด ของคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ซึ่งมุ่งหมายจะเปลี่ยนการปกครอง มาเป็นลัทธิประชาธิปไตย และมีแผนสังหารพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับรับฟังด้วยพระทัยอันทรงพระวิตก จึงได้มีพระราชดำรัสให้ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ รีบดำเนินการกับผู้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์โดยด่วนที่สุด ส่วนทางกองเสือป่าที่กำลังฝึกซ้อมอยู่ในขณะนั้น ก็สั่งให้เลิกซ้อมในทันทีทันใด

การจับกุมตัวพวกคณะปฎิวัติ ได้กระทำกันอย่างรวดเร็วมาก โดยหลังจากที่กลับจากเข้าเฝ้ากราบบังคับทูลแล้ว ก็ได้ออกคำสั่งลับเฉพาะด่วนมาก เรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตั้งแต่ผู้บังคับการขึ้นไป ณ ห้องประชุมกลาโหม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯทรงเป็นประธาน โดยประตูห้องประชุมปิดหมด เพื่อมิให้ผู้ใดรู้เรื่องการประชุมในครั้งนี้

เวลา 11.00 น. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ก็มีคำสั่งให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ออกทำการจับกุมพวกคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 โดยแบ่งเป็นสายๆ กว่าจะจับกุมตัวได้หมด ก็ใช้เวลาพอสมควร และได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีการนองเลือดและต่อสู้ เพราะเหล่าพวกคณะปฎิวัตินั้นไม่เตรียมตัว เพราะต่างกำลังเฝ้าคอยข่าวคราวที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ จะไปปฎิบัติ ว่าจะได้ผลเพียงใด จึงมิได้เตรียมการณ์ป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งหมดจึงถูกจับกุมโดยละม่อม ปราศจากการขัดขวางและแข็งขืน หรือต่อสู้

หลังจากจับกุมนักปฎิวัติได้ทั้งหมดแล้ว ก็มีพระบรมราชโองการ ให้ตั้งคณะกรรมการศาลทหารขึ้น โดยประกอบด้วย

จอมพล พระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) ปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
พลเอก พระยาศักดาวรเดช (แย้ม ณ นคร ) จเรทหารบก
พลตรี พระยาพิชัยสงคราม (เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร)
น.อ. พระยาวิจิตรนาวี
น.อ. พระยาสุนทรา (พระยาวินัยสุนทร) กรมพระธรรมนูญทหารเรือและนายทหารกรมพระธรรมนูญทหารเรืออีก 2 ท่าน




คณะผู้ปราบปรามผู้ก่อการกำเริบ
โดยรัฐบาลได้ขนานนามกลุ่มนักปฎิวัติ ร.ศ. 130 กลุ่มนี้ว่า "สมาคมก่อการกำเริบ" ไม่ใช้คำว่ากบฎ และการคุมขังนั้นได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ คุมขังที่ต่างประเทศ คุมขังที่กระทรวงกลาโหม และคุมขังหรือกักบริเวณตามกรมกองต่างๆ

การสอบสวนของคณะกรรมการศาลทหาร เริ่มด้วยการพิมพ์หัวข้อคำถาม 13 ข้อ ให้ผู้ต้องหาตอบชี้แจง คำถามเหล่านี้ส่งไปยังที่คุมขังทุกแห่ง แล้วรวบรวมคำตอบของผู้ต้องหาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นกองๆ เพื่อค้นหาสาเหตุและหลักฐานของการกระทำผิด ของแต่ละบุคคล ว่าใครทำผิดหนักเบาต่างกันเพียงไร

คณะกรรมการสอบสวนชุดนี้ ใช้ห้องกลางมุขด้นหลังกระทรวงกลาโหมชั้น3 เป็นศาลทหาร พวกที่ถูกเรียกตัวมาสอบสวนที่ศาลทหารในกระทรวงกลาโหม ก็คือผู้ต้องหาประเภทที่1 ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกต่างประเทศ ศาลได้ส่งกรรมการเข้าไปไต่สวน หรือเผชิญสืบภายในคุกเอง โดยทางเรือนจำได้จัดห้องพิเศษไว้ให้เป็นการเฉพาะ สำหรับเจ้าหน้าที่และกรรมการศาลทหาร การสอบสวนและสืบสวน ได้ดำเนินการกันอย่างเคร่งเครียด

สำหรับคำให้การของหมอเหล็ง ศรีจันทร์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 มีความตอนหนึ่งว่า

" เพียงมีการหารือกันเพื่อทำหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณ ให้องค์พระมหากษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการปกครองเป็นลิมิเต็ดมอนากี้ มิได้มีการตระเตรียมกำลัง ที่จะยึดอำนาจแต่อย่างใด"

กรรมการท้วงว่า...." ถ้าไม่มีกำลังทหารบีบบังคับแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงยินยอมหรือ..."

หมอเหล็งได้อ้างถึงประเทศญี่ปุ่น ที่พระมหาจักรพรรดิทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชน ทำให้คณะกรรมการถึงกับอึ้งไป

คำให้การของ ร.ท. เจือ เสนาธิการผู้วางแผนการณ์ ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับหมอเหล็ง ศรีจันทร์ แต่ได้เพิ่มเหตุผลบางประการเกี่ยวกับการทหาร โดยเกรงว่าจะไม่เป็นไปตามหลักวิชาเสนาธิปัตย์ ทุกคนได้ศึกษามาจากทูลกระหม่อมจักรพงษ์ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการทหารในขณะนั้น

คำให้การของ ร.ต. วาส วาสนา เป็นไปแบบขวานผ่าซากว่า..." ตามทัศนะของเขาเห็นว่า ราชการแผ่นดินสมัยนั้น เป็นประหนึ่งตุ๊กตาเครื่องเล่นของประเทศ จะยึดอะไรเป็นล่ำเป็นสันสักอย่างก็ไม่ได้ เขาเป็นมหาดเล็กได้เห็นพฤติกรรมในราชสำนักมาเป็นอย่างดี"

คำให้การของ ร.ต. ถัด รัตนพันธ์ ว่า...." เขาพอใจที่จะคิดเปลี่ยนแปลงประเพณีการปกครอง เพราะการเล่นโขนเล่นละครเสียเองของประมุขแห่งชาตินั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเลย มีแต่เสื่อมเสียพระเกียรติคุณแก่นานาประเทศ และมีผลกระทบกระเทือนถึงชาติ และประชาชนอีกด้วย ควรให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นเขาแสดงและจัดการ การมีกองเสือป่าก็เช่นกัน ทำให้สิ้นเปลืองเงินของแผ่นดิน ทำให้ข้าราชการทหารและพลเรือนแตกร้าวกัน ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้วในประเทศเตอรกี...."

ประธานแก้แทนองค์พระประมุขต่างๆ นานา ว่า..."คนเราจะทำงานอย่างเดียวตะพึดตะพือไปได้อย่างไร ต้องมีการเล่นหัวบ้าง เพื่อเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย จะได้ทรงพระราชภาระได้ต่อไปอีกนานๆ..."

สำหรับ ร.ท. เนตร นั้น แม้คณะกรรมการจะพยายามซักไว้อย่างไร ก็ปฎิเสธมาโดยตลอดและการพิจารณาในตอนแรก รัฐบาลลงโทษเพียง 3 ปี 5 ปีเท่านั้น แต่ก็มีเหตุที่ ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง ออกกุศโลบายเพื่อข่มขู่รัฐบาล คือ ทำจดหมายขึ้นฉบับหนึ่ง มีใจความย่อๆว่า ถ้าสมาชิกคณะปฎิวัติถูกจำจอง หรือถูกคุมขัง แม้แต่คนเดียว ก็ให้ปืนใหญ่ 2 พร้อมกับเหล่าอื่นทำการได้ แล้วปาจดหมายให้ตกบริเวณกำแพงคุก ผู้คุมเก็บไว้ได้ และเสนอไปตามลำดับชั้น ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นกำลังพิจารณาคำพิพากษาของกรรมการศาลทหารอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็เลยทรงงดพระราชวินิจฉัยส่งกลับไป พร้อมกับจดหมายฉบับนั้น ให้กรรมการทำการสอบสวนกันใหม่ เพราะคณะปฎิวัติมิได้มีความประสงค์ จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองเท่านั้น กลับสมคบกันประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วย

ร.ต. เจือ และ ร.ท. จรูญ ถูกคุมขังอุกฤษฎ์โทษ รวมทั้งคณะปฎิวัติทั้งหมดด้วย การสอบสวนครั้งที่2 ดำเนินต่อมาจนถึงเดือนพฤษถาคม 2454 คำพิพากษาของศาลทหาร ถวายขึ้นไปกราบทูลเป็นครั้งที่2 เพื่อขอพระราชวินิจฉัยขั้นเด็ดขาด

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 คณะกรรมการศาลทหารทั้ง 7 ท่าน ได้สนองพระราชโองการ นำคำพิพากษาไปอ่านให้ผู้ต้องหาในคุกต่างประเทศฟัง โดยมีผู้ต้องหาประเภทนี้ 10 คน

คณะกรรมการศาลทหารเดินเข้าไปที่ประตูห้องขัง และกล่าวว่า...." พวกเธอทั้งหลาย คงซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณดีแล้ว ที่โปรดยกโทษอุกฤษฎ์ให้ คงเหลือแต่จำคุกเท่านั้น หาใช่เพียงแต่เท่านั้นไม่ พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาแก่พวกเธอต่อไปอีกเป็นแน่ ถ้าพวกเธอได้ประพฤติตนให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย อย่าได้กระทำการใด ซึ่งเป็นภัยแก่ตนเองอีก..."

และในตอนบ่ายวันเดียวกันนั้นเอง เวลา 14.00 น. คณะกรรมการก็ได้เบิกตัวผู้ต้องหาประเภทที่2-3 ประมาณ 13 คน คือ

1.พ.ต. นายแพทย์หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตเวช)
2.ร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาส
ร.ต. บ๋วย บุณยรัตพันธุ์
3.ร.ต. ปลั่ง บูรณะโชติ
4.ร.ต. เจือ ศิลาอาสน์
5.ร.ต. เหรียญ ทิพยรัตน์
6.ร.ต. จรูญ ษตะเมษ
7.ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์
8.ร.ต. สอน วงษ์โต
9.ร.ต. โกย วรรณกุล
10.ร.ต. จันทร์ ปานดำ
11.ร.ต. ถัด รัตนพันธุ์
12.ร.ต. ศิริ ชณหประไพ
ทุกคนอยู่ในชุดทหารตามยศ แต่ไม่ขัดกระบี่ เพื่อไปฟังคำพิพากษา และพระบรมราชวินิจฉัยเด็ดขาด แต่ทุกคนอยู่ในอาการสงบ เพราะทราบดีอยู่แล้วว่า จะมีเหตุร้ายดีอะไรเกิดขึ้นในอนาคต ต่อมาทุกคนถูกถอดเครื่องแบบออกหมด และมีการสวมกุญแจมือ ก่อนที่จะเข้าไปในห้องประชุม

ต่อมาคณะกรรมการก็เข้านั่งโต๊ะพร้อมกัน พระยาพิชัยสงคราม เป็นผู้อ่านคำพิพากษา ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2454 มีใจความสำคัญดังนี้

"เรื่องก่อการกำเริบ ตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว เรื่องเดิมมีนายทหารบกบ้าง ทหารเรือบ้าง พลเรือนที่ทำงานอยู่ในกระทรวงยุติธรรมบ้าง ได้สมคบคิดกัน ด้วยมูลความประสงค์คิดจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองของพระราชอาณาจักร ได้ประชุมตั้งสมาคม เมื่อเดือนมกราคม ร.ศ.130 แล้วได้ประชุมกันต่อๆมาอีก ราว 8 คราว ตระเตรียมกันทำการกบฎ ถึงประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน กระทรวงกลาโหมทราบเรื่องนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.130 จึงได้จับนายทหารบกซึ่งเป็นหัวหน้า และคนสำคัญในสมาคมนี้ จัดการไต่สวนตลอดจนพรรคพวก กระทรวงกลาโหมได้ทำรายงานตามที่ไต่สวน และนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารบก ทหารเรือ รวม 7 นาย เป็นกรรมการพิจารณาทำคำปรึกษาโทษ ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีใจความที่วินิจฉัย ตามที่ได้พิจารณาได้ความว่า ผู้ที่รวมคบคิดในสมาคมนี้ มีความเห็นจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นลีพับปิกบ้าง เป็นลิมิเต็ดมอนากี้บ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไร จึงจะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้นั้น ปรากฎอยู่ในที่ประชุมถึงการกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องนี้เดิมทีดูเหมือนสมาคมนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง แต่ครั้นพิจารณาตลอดแล้วกลับได้ความว่า สมคบกันเพื่อประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย แม้บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรง ที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี แต่ได้สมรู้เป็นใจและช่วยปกปิด เพราะฉะนั้น ตามลักษณะความผิดนี้ กระทำผิดต่อกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 97 ตอนที่2 มีโทษประหารชีวิตด้วยกันทุกคน บางคนกระทำผิดมาก ไม่สมควรได้ลดโทษเลย แต่บางคนกระทำผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพให้เป็นประโยชน์ในทางการพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรได้ลดหย่อนความผิดบ้าง อันเป็นเหตุควรลดโทษฐานปราณี ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 37 และมาตรา 59 จึงกำหนดโทษ 5 ขั้น ดังนี้

ชั้นที่ 1. ให้ลงโทษประหารชีวิต 3 คน

ชั้นที่ 2. ลดโทษลง เพียงจำคุกตลอดชีวิต 20 คน

ชั้นที่ 3. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 20 ปี 32 นาย

ชั้นที่ 5. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 12 ปี 30 คน

มีผู้ต้องคำพิพากษาศาลทหารเพียง 91 คนเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเด็ดขาด ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ดังนี้

"ได้ตรวจคำพิพากษาของศาลทหาร ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำเริบ ลงวันที่ 4 พฤษภาคมนั้นตลอดแล้ว เห็นว่ากรรมการพิจารณาพวกเหล่านั้น ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะทำร้ายต่อเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยกโทษให้ได้ เพราะฉะนั้น บรรดาผู้มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคำพิพากษาของกรรมการ ว่าเป็นฐานชั้นที่1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดโทษเป็นโทษชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต"

"บรรดาผู้มีชื่อ 20 คน ซึ่งลงโทษไว้เป็นชั้นที่2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดโทษลงเป็นชั้นที่3 ให้จำคุกคนละ 20 ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป

บรรดาผู้มีชื่อ 68 คน ซึ่งวางโทษไว้ในชั้นที่3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน และวางโทษชั้นที่4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน และวางโทษชั้นที่5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คนนั้น ให้รอลงอาญา ทำนองอย่างที่ได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ 42 ซึ่งว่าด้วยการลงโทษทางอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น อละอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งก่อน

แต่ผู้มีชื่อ 3 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่2 กับผู้มีชื่ออีก 20 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่3 รวม 23 คนดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดออกจากตำแหน่งยศบรรดาศักดิ์ ตามอย่างธรรมเนียมซึ่งเคยมีแก่นักโทษเช่นนั้น"

ในจำนวนผู้ที่ต้องรับพระราชอาญาจำคุก 32 คนนั้น เป็นพลเรือนคนหนึ่งคือ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา กองล่ามกระทรวงยุติธรรม นอกนั้นเป็นทหารบก 22 คน ให้ถอดออกจากยศบรรดาศักดิ์แล้ว คือ

จำคุกตลอดชีวิต

ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง
ร.ต. เจือ ศิลาอาสน์
จำคุก 20 ปี

ร.ท. เจือ ควกุล
ร.ต. เขียน อุทัยกุล
ร.ต. วาส วาสนา
ร.ต. ถัด รัตนพันธ์
ร.ต. ม.ร.ว. แช่ รัชนีกร
ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์
ร.ต. เหรียญ ทิพยรัตน์
ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์
ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์
ร.ต. สอน วงค์โต
ร.ต. ปลั่ง บูรณโชติ
ร.ต. จรูญ ษตะเมษ
ร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาส
ร.ต. บ๋วย บุณยรัตนพันธ์
ว่าที่ ร.ต. ศิริ ชุณห์ประไพ
ร.ต. จันทร์ ปานสีดำ
ร.ต. โกย วรรณกุล
พ.ต. หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์
ร.ต. บุญ แดงวิเชียร

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5


1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา เพื่อให้ขุนนาง ข้าราชการ ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่ ทำให้ขุนนาง ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ

1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน การออกกฎหมายต่างๆ

2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ

2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ใน พ.ศ.2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ 6 กรม เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว 6 กรม เป็น 12 กรม คือ

1)กรมมหาดไทย 2)กรมพระกลาโหม 3)กรทท่า 4)กรมวัง 5)กรมเมือง 6)กรมนา 7)กรมพระคลัง 8)กรมยุติธรรม

9)กรมยุทธนาธิการ 10)กรมธรรมการ 11)กรมโยธาธิการ 12)กรมมุรธาธิการ

ใน พ.ศ.2435 กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์ และใน พ.ศ.2437 ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน

3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ซึ่งได้ระบุไว้ใน ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113 โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี

4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุครสาคร ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พ.ศ. 2325 - 2435


สภาพทางการเมืองยังคงรูปแบบของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รูปแบบของสถาบันกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม
พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง การปกครองและการบริหารประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย



เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมือง ทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง แบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร

นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น ตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง
การปกครองในประเทศราช ใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น ได้แก่ การนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรม และ ให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น เป็นต้น
มูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. มูลเหตุภายใน

- ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น
- การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
- การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง
2. มูลเหตุภายนอก
- หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคม



สมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2394 - 2475



1. ด้านการปกครอง
รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว เช่น ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จ พระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง" แบ่งเป็น 2 ระยะ คืด ตอนต้นรัชกาล และตอนปลายรัชกาล
การปรับปรุงการปกครองประเทศในตอนต้นรัชกาล

ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า "
เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้
การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง
ส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า "กระทรวง" แทน และได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ
1. กระทรวงมหาดไทย 2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงต่างประเทศ 4. กระทรวงวัง
5. กระทรวงเมือง (นครบาล) 6. กระทรวงเกษตราภิบาล
7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 8. กระทรวงยุติธรรม
9. กระทรวงธรรมการ 10. กระทรวงโยธาธิการ
11. กระทรวงยุทธนาธิการ ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงกลาโหม)
12. กระทรวงมุรธาธิการ ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงวัง)
ส่วนภูมิภาค


ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย มี การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ

การปกครองกรุงธนบุรี

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานี
ีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ
4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง
การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช
หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)
หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี
หัวเมืองประเทศราช
เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา

รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง อยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น มีลักษณะดังนี้

การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน

ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี) กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)

ส่วนที่ 2) การปกครองส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

1. เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เช่น ลพบุรี นครนายก พระประแดง สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
2. หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตะนาวศรี ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
3.หัวเมืองชั้นนอก หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
4. เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น


การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้
ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง

ช่วงที่ 1 เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล ส่วนพลเรือนมี สมุหนายก ดูแล
สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช
สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง

สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี

การปฏิรูปส่วนหัวเมือง แยกเป็น 3 ส่วน

หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน ทรงขุนนางไปครองเรียก ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า เมืองพระยามหานคร จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี
เมืองประเทศราช คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
ช่วงที่ 2 ตรงกับสมัยพระเพทราชา ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้ สมุหกลาโหมดูแล

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310) มีลักษณะดังนี้
พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม ส่วนสมุหนายก ยังคงเหมือนเดิม การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง

เข้าใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง

สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ตลอดจนสิ้นอยุธยา

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก