วิชาก้าวทันโลกศึกษา 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 (กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ)
กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ


 (กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ)
กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ
กฎหมายปกครอง (อังกฤษ: Administrative law) ได้แก่ กฎหมายที่ให้อำนาจทางปกครองกับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจทางปกครองกฎหมายปกครองมีลักษณะพิเศษคือผู้ที่ใช้อำนาจหรือออกคำสั่งทางปกครองได้ต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่เท่านั้นจะมีข้อยกเว้นก็ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจทางปกครองนั้นไม่ใช่บุคคลที่กล่าวมาแล้วแต่เบื้องต้นจะใช้อำนาจทางปกครองได้ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้เป็นกรณีไปเช่นบุคคลที่ได้รับสัญญาทางปกครองกับรัฐ และเมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นจะต้องนำคดีเข้าสู่ศาลปกครองซึ่งคู่พิพาทจะต้องเป็นคู่กรณีดังต่อไปนี้คือหน่วยงานทางปกครองกับหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่กับหน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองกับเอกชนเจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่กับเอกชนและผู้ที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองมาตรา 42วรรคหนึ่งกฎหมายที่กำหนดถึงรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นกันลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือกฎหมายรัฐธรรนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการปกครองประเทศ แต่กฎหมายปกครองนั้นเป็นกฎหมายดำเนินการปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครองนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การทางปกครอง เช่น การจัดแบ่งออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น ระหว่างองค์การเหล่านี้ซึ่งมีต่อกันและกันและเป็นเกี่ยวพันระหว่างองค์กรเหล่านี้กับราษฎร กฎหมายปกครองถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่กฎหมายมหาชน ในประเทศไทย มีหนังสือกฎหมายปกครองให้ศึกษากันหลายเล่ม หลายผู้เขียน นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ ได้แก่ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์, ดร.ประยูร กาญจนดุลย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์, ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์, ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ฯลฯ มีหลายสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์ผลงานของนักวิชาการด้านกฎหมายปกครองออกมาเผยแพร่ ได้แก่ สำนักพิมพ์วิญญูชน สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักพิมพ์นิติธรรม สำนักพิมพ์นิติบรรณการ ฯลฯ






การปกครองระบอบประชาธิปไตย
1. ความหมายของประชาธิปไตย ประชาธิปไตย มาจากคำว่า ประชา + อธิปไตย (ประชาคือประชาชน ราษฎรเจ้าของประเทศ และอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ)
2. รูปแบบของประชาธิปไตย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เสรีนิยมประชาธิปไตย และประชาธิปไตยประยุกต มีหลายรูปแบบ หลายลักษณะดังนี้
2.1 ลักษณะของประมุข บางประเทศมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และบางประเทศมีประธานาธิบดี เป็นประมุข
2.2 ระบบการใช้อำนาจการปกครอง บางประเทศปกครองในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล บริหารประเทศ และอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาผู้แทนราษฎร แต่บางประเทศปกครองในระบบประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ ไม่ต้องขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
3. หลักการของประชาธิปไตย คือ ประชาชนปกครองตนเอง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยจะยึดหลักเสียงข้างมาก ในการตัดสินปัญหาหรือลงมติในเรื่องต่าง ๆ แต่ก็ต้องรับฟังเสียงข้างน้อย หรือมีลักษณะที่สำคัญ คือ

1. เป็นอำนาจของปวงชน
2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
3. การปกครองต้องถือเสียงข้างมาก
4. ประชาชนต้องมีสิทธิและเสรีภาพ
5. หลักความเสมอภาค
4. วิธีการของประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง มีการเลือกตั้ง ตั้งตัวแทนประชาชนไปทำหน้าที่ออกฎหมายที่เรียกว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือไปจัดตั้งคณะผู้ปกครองประเทศ ที่เรียกว่า คณะรัฐมนตรี หรือ รัฐบาล

5. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นแม่บทกฎหมายในการกำหนดรูปแบบและกระบวนการในการปกครอง และกำหนดถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนไว้ เกิดขึ้นจากประชาชน หรือตัวแทนประชาชนเป็นผู้ร่าง รัฐธรรมนูญจะกำหนด อำนาจหน้าที่ของประชาชน คณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรรวมทั้งวิธีการตรากฎหมาย และอื่น ๆ เป็นต้น




สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลที่กฎหมายคุ้มครอง
เสรีภาพ คือ ภาวะที่ทุกคนสามารถทำอะไรตามต้องการภายใต้กรอบของกฎหมาย
หน้าที่ หมายถึง ภาระที่ต้องกระทำ หรืองดเว้นการกระทำตามกฎหมายกำหนดกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับได้กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้ดังนี้
1. สิทธิเท่าเทียมกันของชายและหญิง
2. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน
3. สิทธิทางการเมือง ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
4. สิทธิในทรัพย์สิน ประชาชนชาวไทยมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลได้
5. สิทธิในครอบครัว ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐในการดำรงชีวิตในครอบครั
6. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อได้รับความไม่เป็นธรรม
7. สิทธิในการรับการศึกษาขั้นมูลฐาน
8. สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ เมื่อเห็นเจ้าพนักงานของหน่วยราชการทำ ไม่ถูกต้อง




กฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดถึงเสรีภาพของประชาชนไว้ดังนี้
1. เสรีภาพในการนับถือศาส
2. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
3. เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์และโฆษณา
4. เสรีภาพในการเดินทางและเลือกที่อยู่อาศัย
5. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
6. เสรีภาพในการศึกษา
7. เสรีภาพในร่างกาย
8. เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดหน้าที่ของประชาชนไว้ดังนี้
1. หน้าที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยื และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. หน้าที่จะต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
3. หน้าที่ในการป้องกันประเทศ
4. หน้าที่ในการรับราชการทหารตามกฎหมาย
5. หน้าที่ในการเสียภาษีอากร
6. หน้าที่ช่วยเหลือราชการที่กฎหมายกำหนด
7. หน้าที่ได้รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายกำหนด
8. หน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง
9. หน้าที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง




อำนาจอธิปไตย



อำนาจอธิปไตย คืออำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย มีสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 แทนประชาชน ดังนี้




1. อำนาจนิติบัญญัติ - รัฐสภา ทำหน้าที่ตรากฎหมายขึ้นใช้ในประเทศ
2. อำนาจบริหาร - คณะรัฐมนตรี (รัฐบาล) ทำหน้าที่บริหารประเทศ
3. อำนาจตุลาการ - ศาล ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี
ความสัมพันธ์กันระหว่างอำนาจทั้ง 3 คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยที่รัฐธรรมนูญ จะให้ความสัมพันธ์ของอำนาจทั้งสามสมดุลกัน ควบคุมซึ่งกันและกันและไม่อยู๋ภายใต้อิทธิพลของกันและกัน และเนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลจึงเป็นไป ตามหลักการ ของประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ระบุถึงเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยส่วนที่เป็นนิติบัญญัติโดยมีหน้าที่สำคัญคือมีอำนาจในการออกกฎหมาย ในการออกกฎหมายนั้นเป็นอำนาจของรัฐสภา ซึ่งรัฐสภานั้นประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ได้มาจากการเลือกตั้งตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด


สำหรับหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ การเลือกนายกรัฐมนตรี แล้วนายกรัฐมนตรีเลือกคณะรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศ






อำนาจบริหาร
อำนาจบริหาร ในส่วนที่เป็นอำนาจบริหารนั้นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) กำหนดไว้ว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหนึ่งคนและคณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา






อำนาจตุลาการ
อำนาจตุลาการ ตามรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับจะระบุถึงการใช้อำนาจตุลาการไว้และในการใช้อำนาจตุลาการนั้นจะใช้ใน พระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย ์โดยผ่านทางศาลยุติธรรม สำหรับผู้พิพากษาและตุลาการนั้นมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยที่ฝ่าย บริหารจะเข้าไปมีอำนาจเหนือตุลาการไม่ได้








บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของไทย

หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 แล้วฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนไปคือตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงอยู่เหนือการเมือง สำหรับความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อสังคมไทยสรุปได้ดังนี้




1. สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่ยกย่องเทิดทูนและเคารพสักการะของประชาชน




2. เป็นสถาบันที่อยู่ในฐานะสูงสุดที่จะให้คำแนะนำตักเตือนและให้กำลังใจแก่นักการเมืองที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐบาลและบุคคลสำคัญ ข้าราชการหรือประชาชนทั่วไปในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศชาติ




3. เป็นสถาบันที่อยู่ในฐานะสูงสุดที่จะช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองให้ลดความรุนแรงหรือขจัดให้หมดไปเช่น กรณีความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น เมื่อวันมหาวิปโยค วันที่ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเรียกให้ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรงและเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็สงบเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว




4. ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ประชาชนเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันพระราชทานปริญญาบัตร โดยมีเนื้อหาข้อคิดในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความสามัคคี ความรักชาติ การเสียสละ ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น




5. ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาติ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นที่รักและสักการะของประชาชน ทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ ทรงสนพระราชหฤทัยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดเวลา เช่น การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเย๊ยนประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ทุกหนทุกแห่ง และทรง พระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือประชาชนเมื่อ เกิดภัยธรรมชาติเป็นประจำเสมอมา




6. ทรงสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงพระาชทานช่วยเหลือสงเคราะห์อยู่เสมอ โดยการทรงจัดตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทรงมีพระราชดำริให้ขยายการบริการของโครงการแพทย์หลวง และแพทย์พระราชทานไปยังประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในท้องถิ่นทุรกันดาร ตลอดทั้งทรงให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน กำพร้า อนาถา ขึ้นเป็นต้น




นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อีกมากมายที่พระมหากษัตริย์ของไทยภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยทรงมีพระคุณอันใหญ่หลวงแก่ประชาชนและประเทศชาติ








สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย




สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมของบุคคลที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย การใช้สิทธิของบุคคลจะต้องเป็นไปตามขอบเขตของกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในทรัพย์สิน ฯลฯ




เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระที่จะใช้สิทธิของตน ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย เช่นเสรีภาพในการพูด การเลือกถิ่นที่อยู่ และการเข้ารับการศึกษา เป็นต้น




สิทธิและเสรีภาพเป็นของคู่กัน บุคคลจะมีเสรีภาพเรื่องใด ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อมีสิทธิในเรื่องนั้น ๆ เสียก่อน เช่น มีสิทธิในทรัพย์สิน(เป็นเจ้าของทรัพย์สิน) ก็ย่อมมีเสรีภาพในการนำทรัพย์สินของตนไปจำหน่ายจ่ายแจก เป็นต้น




การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย




รัฐธรรมนูญได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนไว้หลายประการ ดังนี้




1. สิทธิความเสมอภาคทางกฎหมาย บุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายโดยเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเพศหญิงหรือชาย หรือมีฐานะกำเนิดอย่างไร




2. สิทธิในครอบครัว บุคคลย่อมมีสิทธิอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวตามจาริตประเพณีและกฎหมาย และมีสิทธิในทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกัน




3. สิทธิในทรัพย์สิน ทรัพย์สินของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิที่จะกระทำการอย่างใด ๆ แก่ทรัย์สินของตนได้ เช่น การจำหน่าย หรือยกให้ผู้อื่น เป็นต้น




4. สิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิเลือกตั้ง สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และสิทธิในการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นต้น




5. สิทธิที่จะยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อถูกข่มเหงหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนย่อมมีสิทธเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อทางราชการได้




6. สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ เมื่อบุคคลได้รับความเสียหายในทรัพย์สินหรือร่างกายจากการกระทำของหน่วยราชการ ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาล เพื่อเรียกค่าเสียหายได้




7. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโทษอย่างเป็นธรรม โดยได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้สุจริต แม้จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดก็ตาม เว้นแต่จะมีคำพิพากาาของศาลจนถึงที่สุดว่าบุคคลผู้นั้นกระทำความผิดจริง




8. สิทธิที่จะขอทนายความจากรัฐ บุคคลที่ตกเป็นจำเลยคดีอาญา ถ้าเป็นผู้ที่ยากจนขาดแคลนทุนทรัพย์ มีสิทธิขอให้รัฐจัดหาทนายความเพื่อต่อสู้คดีให้ได้




9. สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจากการรับโทษอาญา ในกรณีที่ถูกศาลตัดสินจำคุก แต่ภายหลังศาลได้รื้อฟื้นคดีใหม่ และพิพากาาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ บุคคลผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากรัฐ




10. เสรีภาพในร่างกาย บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในร่างกายของตน ผู้ใดจะจับกุมคุมขังหน่วงเหนี่ยวตัวบุคคลมิได้ เว้นแต่จะกระทำตามกฎหมาย




11. เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา ทั้งนี้จะต้องไม่ละเมิดหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิ หรือชื่อเสียงเกียรติยศชื่อเสียงของบุคคลอื่น เช่น การหมิ่นประมาท หรือใส่ความโดยไม่มีมูลความจริง หรือปลุกปั่นยุยงให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เป็นต้น




12. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เว้นแต่ในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก




13. เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อสื่อสารถึงกันได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งนี้บุคคลอื่นจะตรวจหรือกัก หรือเปิดเผยไม่ได้ ผู้ใดเปิดผนึกหรือเปิดเผยข้อความในจดหมายหรือโทรเลขของผู้อื่นและทำให้เกิดความเสียหาย ย่อมมีความผิดตามกฎหมาย




14. เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย




15. เสรีภาพในการนับถือศาสนา




16. เสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคม




17. เสรีภาพในการศึกษาอบรม




ข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิ




การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะต้องมีข้อจำกัด หรืออยู่ภายใต้ของเขตของกฎหมาย รัฐจำเป็นต้องจำกัดการใช้สิทธิของประชาชน เพราะสาเหตุดังนี้




1. การรักาาความมั่นคงของชาติ ป้องกันมิให้การใช้สิทธิของประชาชนกระทบกระเทือนต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์




2. การรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือศิลธรรมอันดีงามของประชาชน ป้องกันมิให้มีการปลุกปั่นยุยงให้ประชาชนเกิดความตื่นกลัว หรือก่อความไม่สงบ หรือเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์อนาจาร เป็นต้น




3. การป้องกันมิให้ประชาชนละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน เช่นการรุกล้ำอาคารสถานที่ การใช้เสียงดังเกินควร และการปล่อยเขม่าควันฝุ่นละออง ของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น




4. การสนับสนุนให้รัฐสามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและความเป็นธรรมในสังคม เช่น เมื่เกิดสงคราม รัฐจะจำกัดสิทธิของประชาชน โดยห้ามออกนอกบ้านเป็นบางเวลาหรือการเวนคืนที่ดินของประชาชนมาสร้างถนนหรือทางด่วน เป็นต้น





กฎหมายปกครอง (อังกฤษ: Administrative law) ได้แก่ กฎหมายที่ให้อำนาจทางปกครองกับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจทางปกครองกฎหมายปกครองมีลักษณะพิเศษคือผู้ที่ใช้อำนาจหรือออกคำสั่งทางปกครองได้ต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่เท่านั้นจะมีข้อยกเว้นก็ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจทางปกครองนั้นไม่ใช่บุคคลที่กล่าวมาแล้วแต่เบื้องต้นจะใช้อำนาจทางปกครองได้ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้เป็นกรณีไปเช่นบุคคลที่ได้รับสัญญาทางปกครองกับรัฐ และเมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นจะต้องนำคดีเข้าสู่ศาลปกครองซึ่งคู่พิพาทจะต้องเป็นคู่กรณีดังต่อไปนี้คือหน่วยงานทางปกครองกับหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่กับหน่วยงานทางปกครองหน่วยงานทางปกครองกับเอกชนเจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่กับเอกชนและผู้ที่จะฟ้องต่อศาลปกครองได้ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองมาตรา 42วรรคหนึ่งกฎหมายที่กำหนดถึงรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นกันลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือกฎหมายรัฐธรรนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการปกครองประเทศ แต่กฎหมายปกครองนั้นเป็นกฎหมายดำเนินการปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครองนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การทางปกครอง เช่น การจัดแบ่งออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น ระหว่างองค์การเหล่านี้ซึ่งมีต่อกันและกันและเป็นเกี่ยวพันระหว่างองค์กรเหล่านี้กับราษฎร กฎหมายปกครองถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่กฎหมายมหาชน ในประเทศไทย มีหนังสือกฎหมายปกครองให้ศึกษากันหลายเล่ม หลายผู้เขียน นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ ได้แก่ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์, ดร.ประยูร กาญจนดุลย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์, ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์, ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ฯลฯ มีหลายสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์ผลงานของนักวิชาการด้านกฎหมายปกครองออกมาเผยแพร่ ได้แก่ สำนักพิมพ์วิญญูชน สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักพิมพ์นิติธรรม สำนักพิมพ์นิติบรรณการ ฯลฯ






การปกครองระบอบประชาธิปไตย


1. ความหมายของประชาธิปไตย ประชาธิปไตย มาจากคำว่า ประชา + อธิปไตย (ประชาคือประชาชน ราษฎรเจ้าของประเทศ และอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ)




2. รูปแบบของประชาธิปไตย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เสรีนิยมประชาธิปไตย และประชาธิปไตยประยุกต มีหลายรูปแบบ หลายลักษณะดังนี้




2.1 ลักษณะของประมุข บางประเทศมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และบางประเทศมีประธานาธิบดี เป็นประมุข




2.2 ระบบการใช้อำนาจการปกครอง บางประเทศปกครองในระบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล บริหารประเทศ และอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาผู้แทนราษฎร แต่บางประเทศปกครองในระบบประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ ไม่ต้องขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น




3. หลักการของประชาธิปไตย คือ ประชาชนปกครองตนเอง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยจะยึดหลักเสียงข้างมาก ในการตัดสินปัญหาหรือลงมติในเรื่องต่าง ๆ แต่ก็ต้องรับฟังเสียงข้างน้อย หรือมีลักษณะที่สำคัญ คือ




1. เป็นอำนาจของปวงชน




2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ




3. การปกครองต้องถือเสียงข้างมาก




4. ประชาชนต้องมีสิทธิและเสรีภาพ




5. หลักความเสมอภาค




4. วิธีการของประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง มีการเลือกตั้ง ตั้งตัวแทนประชาชนไปทำหน้าที่ออกกฎหมายที่เรียกว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือไปจัดตั้งคณะผู้ปกครองประเทศ ที่เรียกว่า คณะรัฐมนตรี หรือ รัฐบาล




5. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นแม่บทกฎหมายในการกำหนดรูปแบบและกระบวนการในการปกครอง และกำหนดถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนไว้ เกิดขึ้นจากประชาชน หรือตัวแทนประชาชนเป็นผู้ร่าง รัฐธรรมนูญจะกำหนด อำนาจหน้าที่ของประชาชน คณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรรวมทั้งวิธีการตรากฎหมาย และอื่น ๆ เป็นต้น




สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลที่กฎหมายคุ้มครอง




เสรีภาพ คือ ภาวะที่ทุกคนสามารถทำอะไรตามต้องการภายใต้กรอบของกฎหมาย




หน้าที่ หมายถึง ภาระที่ต้องกระทำ หรืองดเว้นการกระทำตามกฎหมายกำหนด




กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับได้กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้ดังนี้




1. สิทธิเท่าเทียมกันของชายและหญิง




2. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน




3. สิทธิทางการเมือง ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง




4. สิทธิในทรัพย์สิน ประชาชนชาวไทยมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลได้




5. สิทธิในครอบครัว ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐในการดำรงชีวิตในครอบครัว




6. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อได้รับความไม่เป็นธรรม




7. สิทธิในการรับการศึกษาขั้นมูลฐาน




8. สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ เมื่อเห็นเจ้าพนักงานของหน่วยราชการทำ ไม่ถูกต้อง




กฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดถึงเสรีภาพของประชาชนไว้ดังนี้




1. เสรีภาพในการนับถือศาสนา




2. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ




3. เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์และโฆษณา




4. เสรีภาพในการเดินทางและเลือกที่อยู่อาศัย




5. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น




6. เสรีภาพในการศึกษา




7. เสรีภาพในร่างกาย




8. เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดหน้าที่ของประชาชนไว้ดังนี้




1. หน้าที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยื และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย




2. หน้าที่จะต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น




3. หน้าที่ในการป้องกันประเทศ




4. หน้าที่ในการรับราชการทหารตามกฎหมาย




5. หน้าที่ในการเสียภาษีอากร




6. หน้าที่ช่วยเหลือราชการที่กฎหมายกำหนด




7. หน้าที่ได้รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายกำหนด




8. หน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง




9. หน้าที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง




อำนาจอธิปไตย




อำนาจอธิปไตย คืออำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย มีสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 แทนประชาชน ดังนี้




1. อำนาจนิติบัญญัติ - รัฐสภา ทำหน้าที่ตรากฎหมายขึ้นใช้ในประเทศ




2. อำนาจบริหาร - คณะรัฐมนตรี (รัฐบาล) ทำหน้าที่บริหารประเทศ




3. อำนาจตุลาการ - ศาล ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี




ความสัมพันธ์กันระหว่างอำนาจทั้ง 3 คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยที่รัฐธรรมนูญ จะให้ความสัมพันธ์ของอำนาจทั้งสามสมดุลกัน ควบคุมซึ่งกันและกันและไม่อยู๋ภายใต้อิทธิพลของกันและกัน และเนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลจึงเป็นไป ตามหลักการ ของประชาธิปไตยแบบรัฐสภา


อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ระบุถึงเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยส่วนที่เป็นนิติบัญญัติโดยมีหน้าที่สำคัญคือมีอำนาจในการออกกฎหมาย ในการออกกฎหมายนั้นเป็นอำนาจของรัฐสภา ซึ่งรัฐสภานั้นประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ได้มาจากการเลือกตั้งตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด




สำหรับหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ การเลือกนายกรัฐมนตรี แล้วนายกรัฐมนตรีเลือกคณะรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศ






อำนาจบริหาร
อำนาจบริหาร ในส่วนที่เป็นอำนาจบริหารนั้นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) กำหนดไว้ว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหนึ่งคนและคณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา






อำนาจตุลาการ
อำนาจตุลาการ ตามรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับจะระบุถึงการใช้อำนาจตุลาการไว้และในการใช้อำนาจตุลาการนั้นจะใช้ใน พระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย ์โดยผ่านทางศาลยุติธรรม สำหรับผู้พิพากษาและตุลาการนั้นมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยที่ฝ่าย บริหารจะเข้าไปมีอำนาจเหนือตุลาการไม่ได้








บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของไทย




หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 แล้วฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนไปคือตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงอยู่เหนือการเมือง สำหรับความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อสังคมไทยสรุปได้ดังนี้




1. สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่ยกย่องเทิดทูนและเคารพสักการะของประชาชน




2. เป็นสถาบันที่อยู่ในฐานะสูงสุดที่จะให้คำแนะนำตักเตือนและให้กำลังใจแก่นักการเมืองที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐบาลและบุคคลสำคัญ ข้าราชการหรือประชาชนทั่วไปในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศชาติ




3. เป็นสถาบันที่อยู่ในฐานะสูงสุดที่จะช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองให้ลดความรุนแรงหรือขจัดให้หมดไปเช่น กรณีความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น เมื่อวันมหาวิปโยค วันที่ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเรียกให้ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรงและเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็สงบเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว




4. ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ประชาชนเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันพระราชทานปริญญาบัตร โดยมีเนื้อหาข้อคิดในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความสามัคคี ความรักชาติ การเสียสละ ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น




5. ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาติ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นที่รักและสักการะของประชาชน ทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ ทรงสนพระราชหฤทัยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดเวลา เช่น การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเย๊ยนประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ทุกหนทุกแห่ง และทรง พระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือประชาชนเมื่อ เกิดภัยธรรมชาติเป็นประจำเสมอมา




6. ทรงสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงพระาชทานช่วยเหลือสงเคราะห์อยู่เสมอ โดยการทรงจัดตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทรงมีพระราชดำริให้ขยายการบริการของโครงการแพทย์หลวง และแพทย์พระราชทานไปยังประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในท้องถิ่นทุรกันดาร ตลอดทั้งทรงให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน กำพร้า อนาถา ขึ้นเป็นต้น




นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อีกมากมายที่พระมหากษัตริย์ของไทยภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยทรงมีพระคุณอันใหญ่หลวงแก่ประชาชนและประเทศชาติ








สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย




สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมของบุคคลที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย การใช้สิทธิของบุคคลจะต้องเป็นไปตามขอบเขตของกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในทรัพย์สิน ฯลฯ




เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระที่จะใช้สิทธิของตน ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย เช่นเสรีภาพในการพูด การเลือกถิ่นที่อยู่ และการเข้ารับการศึกษา เป็นต้น




สิทธิและเสรีภาพเป็นของคู่กัน บุคคลจะมีเสรีภาพเรื่องใด ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อมีสิทธิในเรื่องนั้น ๆ เสียก่อน เช่น มีสิทธิในทรัพย์สิน(เป็นเจ้าของทรัพย์สิน) ก็ย่อมมีเสรีภาพในการนำทรัพย์สินของตนไปจำหน่ายจ่ายแจก เป็นต้น




การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย




รัฐธรรมนูญได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนไว้หลายประการ ดังนี้




1. สิทธิความเสมอภาคทางกฎหมาย บุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายโดยเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเพศหญิงหรือชาย หรือมีฐานะกำเนิดอย่างไร




2. สิทธิในครอบครัว บุคคลย่อมมีสิทธิอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวตามจาริตประเพณีและกฎหมาย และมีสิทธิในทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกัน




3. สิทธิในทรัพย์สิน ทรัพย์สินของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิที่จะกระทำการอย่างใด ๆ แก่ทรัย์สินของตนได้ เช่น การจำหน่าย หรือยกให้ผู้อื่น เป็นต้น




4. สิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิเลือกตั้ง สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และสิทธิในการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นต้น




5. สิทธิที่จะยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อถูกข่มเหงหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนย่อมมีสิทธเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อทางราชการได้




6. สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ เมื่อบุคคลได้รับความเสียหายในทรัพย์สินหรือร่างกายจากการกระทำของหน่วยราชการ ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาล เพื่อเรียกค่าเสียหายได้




7. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโทษอย่างเป็นธรรม โดยได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้สุจริต แม้จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดก็ตาม เว้นแต่จะมีคำพิพากาาของศาลจนถึงที่สุดว่าบุคคลผู้นั้นกระทำความผิดจริง




8. สิทธิที่จะขอทนายความจากรัฐ บุคคลที่ตกเป็นจำเลยคดีอาญา ถ้าเป็นผู้ที่ยากจนขาดแคลนทุนทรัพย์ มีสิทธิขอให้รัฐจัดหาทนายความเพื่อต่อสู้คดีให้ได้




9. สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจากการรับโทษอาญา ในกรณีที่ถูกศาลตัดสินจำคุก แต่ภายหลังศาลได้รื้อฟื้นคดีใหม่ และพิพากาาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ บุคคลผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากรัฐ




10. เสรีภาพในร่างกาย บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในร่างกายของตน ผู้ใดจะจับกุมคุมขังหน่วงเหนี่ยวตัวบุคคลมิได้ เว้นแต่จะกระทำตามกฎหมาย




11. เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา ทั้งนี้จะต้องไม่ละเมิดหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิ หรือชื่อเสียงเกียรติยศชื่อเสียงของบุคคลอื่น เช่น การหมิ่นประมาท หรือใส่ความโดยไม่มีมูลความจริง หรือปลุกปั่นยุยงให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เป็นต้น



12. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เว้นแต่ในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก




13. เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อสื่อสารถึงกันได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งนี้บุคคลอื่นจะตรวจหรือกัก หรือเปิดเผยไม่ได้ ผู้ใดเปิดผนึกหรือเปิดเผยข้อความในจดหมายหรือโทรเลขของผู้อื่นและทำให้เกิดความเสียหาย ย่อมมีความผิดตามกฎหมาย



14. เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย



15. เสรีภาพในการนับถือศาสนา



16. เสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคม



17. เสรีภาพในการศึกษาอบรม




ข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิ



การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะต้องมีข้อจำกัด หรืออยู่ภายใต้ของเขตของกฎหมาย รัฐจำเป็นต้องจำกัดการใช้สิทธิของประชาชน เพราะสาเหตุดังนี้



1. การรักาาความมั่นคงของชาติ ป้องกันมิให้การใช้สิทธิของประชาชนกระทบกระเทือนต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์



2. การรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือศิลธรรมอันดีงามของประชาชน ป้องกันมิให้มีการปลุกปั่นยุยงให้ประชาชนเกิดความตื่นกลัว หรือก่อความไม่สงบ หรือเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์อนาจาร เป็นต้น



3. การป้องกันมิให้ประชาชนละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน เช่นการรุกล้ำอาคารสถานที่ การใช้เสียงดังเกินควร และการปล่อยเขม่าควันฝุ่นละออง ของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น



4. การสนับสนุนให้รัฐสามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและความเป็นธรรมในสังคม เช่น เมื่เกิดสงคราม รัฐจะจำกัดสิทธิของประชาชน โดยห้ามออกนอกบ้านเป็นบางเวลาหรือการเวนคืนที่ดินของประชาชนมาสร้างถนนหรือทางด่วน เป็นต้น